จุดเด่นของแอร์ daikin (บางส่วน)

จุดเด่นของแอร์ daikin (บางส่วน)

จุดเด่นของแอร์ daikin

1.การนำเข้าสารทำความเย็น เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ทราบมั้ยครับว่าสารทำความเย็นหรือน้ำยาไม่ว่าจะเป็น R22 หรือ R410A ต้องมีการควบคุมค่าความชื้นไม่ให้เกินมาตรฐานก่อน ในอดีตผมเคย CLAIM กลับ SUPPLIER มาแล้ว เนื่องจากพบค่าความชื้นในถังรถส่งเกินมากๆ ซึ่งตัวความชื้นนี่เองครับที่เป็นศัตรูหมายเลข 1. ของระบบการทำความเย็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกินไฟสูงขึ้น , COMPRESSOR เจ๊งเร็ว , ตันในระบบ ผมไม่รู้ว่ายี่ห้ออื่นมีทดสอบความชื้นหรือไม่ (เท่าที่ทราบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ส่งสารทำความเย็นให้กับบริษัทไดกิ้น บอกว่าที่อื่นไม่มีขั้นตอนนี้ พอเค้าไปส่ง ก็จะทำการ LOAD เข้า TANK เลย ไม่มีการตรวจสอบใดใดทั้งสิ้น) แต่ไดกิ้นมีกระบวนการนี้ แม้ว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้นมาก ปีนึงจัดงบสำหรับสั่งน้ำยาเพื่อทดสอบความชื้นหลายแสนบาทครับแต่ต้องกล้าลงทุน เพราะเราไม่ต้องการหลอกลูกค้าครับ

2.การทดสอบสิ่งปนเปื้อนในระบบเครื่องปรับอากาศ เช่น น้ำมันขึ้นรูป , ฝุ่น ไดกิ้นมีการทดสอบเรื่องนี้ครับ อย่าลืมว่าในการผลิตแผงคอยล์ร้อน-เย็น ท่อทองแดงจะมีการขึ้นรูปมาก่อน และการขึ้นรูปย่อมต้องใช้น้ำมันครับ และน้ำมันส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการแลกเปลี่ยนความร้อน อุณหภูมิทั้งนั้น ผมทดสอบทุกเดือนครับ ถ้าค่าน้ำมันตกค้างเกินมาตรฐานไม่ให้ใช้ และงบประมาณที่ใช้ซื้อน้ำยาทดสอบน้ำมันนี้แพงมากครับ ตกขวดล่ะ 10500 บาท ซึ่งเดือนหนึ่งๆจะใช้ถึง 10 ขวดเป็นอย่างน้อย ปีล่ะล้านกว่าบาทครับ เหตุผลเดียวกันกับข้อ 1 เราใส่ใจลูกค้าครับ ต้องได้รับของดีเท่านั้น

3.การทดสอบเรื่องเสียงขณะทำงานของแอร์ มีห้องทดสอบเฉพาะและมีมาตรฐานกำหนดไว้ชัดเจน

4.ด้านความปลอดภัยขณะทำงานของแอร์ ปกติแอร์ด้านแรงดันสูงจะอยู่ที่ประมาณ 40~50 kgf.cm2 แต่มาตรฐานของไดกิ้นควบคุมที่ 3 เท่า คือประมาณ 120 ~ 150 kgf.cm2 ดังนั้นลูกค้าหรือผู้ใช้งานสามารถมั่นใจได้ว่าในการทำงานจะมีความปลอดภัยแน่นอน(มีการรับรองจาก สมอ.สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ซึ่งการทดสอบแบบนี้จะเรียกว่า HYDROSTATIC หรือ HIGH PRESSURE แปลเป็นไทยคือการทดสอบด้วยการอัดแรงดันสูงเข้าในชิ้นงาน ชิ้นงานที่มีการทดสอบจะมีพวก COMPRESSOR , HEAT EXCHANGER (คอยล์ร้อน-เย็น) , PIPING (ท่อแอร์)

5.กระบวนการตรวจสอบ ในกระบวนการผลิตจะมีการตรวจสอบทุกกระบวนการ โดยการใช้ VISUAL CHECK เป็นการตรวจสอบด้านการประกอบ และมีการทดสอบการรั่วของน้ำยาในระบบก่อนส่งถึงมือลูกค้า

6.สารประกอบในชิ้นส่วนหรือ PART จะไม่มีสารต้องห้าม 6 ชนิด เช่น ตะกั่ว แคดเมี่ยม

ที่มา http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2011/05/R10612098/R10612098.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาการคอมเพรสเซอร์แอร์น๊อค

จะติดแอร์บ้านก่อนหรือหลังทาสีดี

แผงคอยล์ร้อนเป็นอะลุมิเนียมรั่วทำอย่างไรดี